วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงานในอนาคต


การจัดสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)    
           OA นั้นเป็นกระบวนการนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงมาช่วยคนในสำนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานในสำนักงานให้สูงขึ้น การจัดสำนักงานอัตโนมัติมีขอบเขตกว้างและมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามแนวทางในรายงานฉบับนี้ เป็นเพียงการรวบรวมข้อมูล แนวคิด ความรู้เกี่ยวกับการจัดสำนักงานอัตโนมัติเบื้องต้น ที่ริเริ่มในการนำคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆมาใช้ในสำนักงาน ส่วนจะถูกพัฒนาดัดแปลงไปอยู่ในรูปเช่นไรนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร ความเหมาะสม ผู้บริหาร พนักงาน ซึ่งอาจมีความคิดแตกต่างกัน รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจสภาพการตลาด และที่สำคัญในยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ มีแนวโน้มว่า OA จะถูกพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆและจะเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงานองค์กรต่างๆ เกือบทุกองค์กรในอนาคต
สำนักงานในอนาคตในระดับแรก 
เริ่มนำเอาคอมพิวเตอร์ในสำนักงานมาใช้แล้ว ซึ่งอาจเป็นเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ โน้ตบุ้ค งานพิมพ์เอกสาร งานด้านการประมวลผลคำ และระบบการพิมพ์ตั้งโต๊ะ เป็นเหตุผลใหญ่ในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ ทดแทนพิมพ์ดีด หรือแท่นเรียงพิมพ์ ลักษณะการทำงานยังต้องพึ่งพาอาศัยกระดาษอยู่มาก เพราะต้องแจกจ่ายภายในสำนักงาน หรือเผยแพร่ไปยังภายนอก งานเก็บข้อมูล เช่นข้อมูลการขาย ประวัติพนักงาน สถิติการทำงาน หรือยอดสินค้า เมื่อต้องการทราบข้อมูลใดก็สามารถเรียกมาดูที่หน้าจอ หรือสั่งพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารอ้างอิงได้ คอมพิวเตอร์มักทำงานแบบอิสระ ไม่มีการเชื่อมต่อ ระบบการสื่อสารข้อมูลเป็นแบบ sneaker net 

สำนักงานในอนาคตระดับที่สองหรือระดับกลาง 
เริ่มก้าวสู่ความเป็นสำนักงานอัตโนมัติที่ไร้กระดาษมากขึ้น มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงานเข้าด้วยกันเป็นระบบออนไลน์ ซึ่งสามารถขจัดขั้นตอนการใช้แบบฟอร์ม จดหมาย บันทึก
มีความสามารถส่งข้อความถึงกันได้ทันที มีความสามารถในการส่งถ่ายเอกสารโดยไม่ต้องพิมพ์ออกมา มีระบบแผงข่าว หรือศูนย์รวมข่าว หรือประชาสัมพันธ์ โดยมีการจัดหัวข้อไว้เป็นเรื่องๆ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านหัวข้อที่สนใจ แฟกซ์ สามารถสงถ่ายข้อมูลโดยประหยัดเวลาและมีความแม่นยำสูง มีElectronic Billboard ป้ายโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ที่มีตัวอักษรวิ่ง สามารถช่วยกระจายข่าวและลดจำนวนกระดาษลงได้

สำนักงานอัตโนมัติระดับที่สามหรือระดับสูงสุด

เป็นเทคโนโลยีสูงสุดของสำนักงานอัตโนมัติ มีการใช้กระดาษน้อยที่สุด มีการเชื่อมต่อเครือข่ายในสำนักงานเข้ากับสำนักงานอื่นๆ หรือเครือข่ายอื่นๆ ให้บริการโทรศัพท์ปกติและบริการเพิ่มเติมแก่บริษัทที่เป็นลูกข่าย เช่น การส่งแฟกซ์ภาพนิ่ง หรือข้อมูลต่างๆผ่านเครือข่าย จัดการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ซึ่งแทบไม่มีกระดาษเกิดขึ้นเลย สอดคล้องกับอาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Intelligent Building) ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเรื่องต่างๆในสำนักงาน 

หากประยุกต์ใช้ Zimbra Mail ได้อย่างเหมาะสมลงตัวจะสามารถเข้าถึงความเป็นสำนักงานในอนาคตในระดับที่สามได้ไม่ยากเย็น


วิสัยทัศน์ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้คือ การนำรูปแบบการใช้งานแนวใหม่มาใช้ ซึ่งมาในรูปของคอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่อย่าง Ultrabook นั่นเอง คอมพิวเตอร์ชนิดนี้จะให้ประสิทธิภาพและคุณสมบัติต่างๆ ของโน้ตบุ๊กที่มีอยู่ในปัจจุบันไปผสมผสานกับคุณสมบัติต่างๆ ของแท็บแล็ต เพื่อให้มีรูปแบบการใช้งานที่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ด้วยการออกแบบของเครื่องที่บางมาก (บางไม่ถึง 20 มม.) น้ำหนักเบาและดูเรียบหรู ในราคาทั่วไปที่ต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 29,900 บาท) นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ยังช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคแต่ละรายสามารถเป็นเจ้าของ คอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน หรือขณะอยู่บนท้องถนนก็ตาม

นอกจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะกลายเป็น ศูนย์กลางสำหรับทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะใช้เป็นระบบประมวลผลข้อมูล เพื่อความบันเทิง หรือใช้ระบบสื่อสารก็ตาม โดยใช้เทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการอย่าง Wi-Di (Wireless Display) ซึ่งจะเข้ามาเป็นตัวเชื่อมการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และทีวีได้ และสมาชิกในบ้านทุกคนสามารถหันมาใช้เวลาอันมีค่าร่วมกันได้มากขึ้น ใน “ยุคแห่งการเติบโตของคอมพิวเตอร์” คอมพิวเตอร์ที่บ้านจะได้รับการใช้งานมากขึ้น และผู้บริโภคจะกลายเป็นศูนย์กลางเพื่อกำหนดประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตของ ตนเอง ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดาว่าจะมีอะไรรอเราอยู่ที่ปลายนิ้วในอนาคต อันใกล้นี้


เมื่อถึงจุดหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ อินเทลคาดหวังว่าการก้าวกระโดดของประสิทธิภาพในครั้งต่อไปจะทำให้ระบบประมวล ผลก้าวไปสู่ยุคใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับคำสั่งที่เป็นเสียงพูดและตอบสนองได้ใน ทันที เป็นต้น เราได้เดินทางมาไกลมาก นับตั้งแต่ยุคที่พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาที่ผู้คนต้องปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี จนถึงปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์และความต้องการต่างๆ ของผู้คนได้กลายเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับเทคโนโลยีไปแล้ว ระบบประมวลผลส่วนบุคคลได้กลายมามีความเป็นส่วนบุคคลอย่างที่ไม่เคยเป็นมา ก่อน



การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน


ลักษณะของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
                ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Case) 
               หมายถึงรูปร่างลักษณะทั่วๆไปของคอมพิวเตอร์  ตัวเครื่องจะทำหน้าที่ห่อหุ้มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันตัวเครื่องมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ตัวเครื่องแบบแนวนอน (Desktop Case)เป็นการวางเครื่งไว้ในแนวนอนบนโต๊ะแล้วนำจอภาพมาวางซ้อนไว้บนโต๊ะ
2. ตัวเครื่องแบบแนวตั้ง (Tower Case) เป็นการวางตัวเครื่องไว้ในแนวตั้ง โดยตั้งไว้บนโต๊ะ หรือบนพื้นก็ได้ แล้ววางจอภาพไว้ข้างๆ ตัวเครื่อง ปัจจุบันตัวเครื่องแบบนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะมีขนาดเล็ก ไม่กินเนื้อที่และเคลื่อนย้ายได้สะดวก
3. ตัวเครื่องแบบรวมในชิ้นเดียว(All-in-one Case) 
 เป็นการวางเอาตัวเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด รวมเป็นชิ้นเดียว คล้ายกับโทรทัศน์ตัวเครื่องแบบ นี้สะดวกในการเคลื่อนย้าย กะทัดรัดแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเพราะหากอุปกรณ์ภายใน ชำรุดหรือเสียหายต้องรื้อทั้งชุด ไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน
4.คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook Case) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพา หรือนำติดตัวไปไหนต่อไหนได้อย่างสะดวก มีแบตเตอรี่ป้อนไฟสำหรับเครื่องเวลาออกไปใช้งานนอกสถานที่ มีขนาดเล็กกะทัดรัด
การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงานอัตโนมัติ
เครื่องมือที่ใช้ในสำนักงานอัตโนมัติ
1 เครื่องมือประมวลผลข้อความ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร
2 เครื่องมือประมวลผลข้อมูล เช่น โปรแกรมสถิติ ฐานข้อมูล เครื่องคิดเลข
3 เครื่องมือกราฟิก เช่น เครื่องอ่านพิกัด เครื่องพลอตเตอร์
4 เครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรสาร โทรศัพท์
5 เครื่องมือประมวลผลภาพกราฟิก เช่น ระบบค้นคืนสารสนเทศ จานบันทึกด้วยแสง
6 เครื่องมือบริหารเวลา เช่น ระบบรายชื่อ ระบบเตือนความจำ
7 เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ เช่น ส่วนต่อประสานภาษาธรรมชาติ ระบบพูดโต้ตอบ
8 เครื่องมือสนับสนุนสมรรถนะการทำงาน เช่น ระบบช่วยเหลือแบบออนไลน์ ระบบฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์
2.1 ความหมายของกรุ๊ปแวร์ ระบบกลุ่มงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มของผู้ปฎิบัติงานซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่าย
2.2 หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์กรุ๊ปแวร์
2.2.1 การแบ่งกันใช้สารสนเทศ
2.2.2 การเขียนเอกสาร
2.2.3 การจัดการข่าวสาร
2.2.4 การประชุมทางคอมพิวเตอร์
2.2.5 การจัดทำตารางนัดหมายกลุ่ม
2.2.6 การจัดการโครงการ
2.2.7 การสนับสนุนการสร้างทีมงาน
3. ข้อควรพิจารณาในการนำกรุ๊ปแวร์มาใช้ให้ประสบความสำเร็จ
3.1 การคัดเลือกซอฟต์แวร์
3.2 การฝึกอบรม
3.3 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม
เรื่องที่ 2.2.3 การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงานอัตโนมัติในระดับองค์การ
1. วัตถุประสงค์ในการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงระหว่างสำนักงาน
1.1 เพื่อการสื่อสารมีประสิทธิภาพ
1.2 การแลกเปลี่ยนข้อมูลมีมากขึ้น
1.3 การประสานงานระหว่างกันดีขึ้น
1.4 การลดค่าใช้จ่ายในงานเอกสาร
1.5 การเพิ่มสมรรถนะของพนักงาน
1.6 การติดตามสถานภาพการทำงาน
2. ระบบอินทราเน็ต
ระบบเครือข่ายภายในสำนักงานที่จัดทำขึ้นด้วยเทคโนโลยีเดียวกับอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวกลางสำหรับส่งข้อมูล เพื่อเชื่อมโยงข้อความในเอกสารไปยังหน่วยงานต่างๆ ผู้ใช้จะเข้าทำงานในระบบโดยการใช้หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านของแต่ละบุคคลติดต่อกับระบบ
3. ระบบเอกซ์ทราเน็ต
ระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ ซึ่งอาจเป็นพันธมิตรทางการค้าหรือลูกค้า เพื่อทำธุรกรรม หรือติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยเฉพาะการสื่อสารด้วยเอกสารธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

เครื่องคอมพิวเตอร์ในอดีต

การใช้เครื่องพิวเตอร์ในอดีต
คอมพิวเตอร์ในอดีต
 (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์   เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม


 ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์
มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด
ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล  ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น   ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย     นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์(Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย(c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด
ราวๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง) ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใดๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย) 
ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์ เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่นซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจและได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมานำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์ ขึ้นได้โดยบังเอิญ ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง